คุณค่าที่ได้จากเรื่อง


      ๑. คุณค่าทางวรรณศิลป์ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานมีความไพเราะจากการสรรคำและ
การเล่นเสียง มีสัมผัสในแพรวพราว พรรณนาความได้ละเอียด วางคำได้จังหวะ 
การเล่นเสียงวรรณยุกต์ในคำว่า หรุ่ม” “รุม” “รุ่มและเสียงพยัญชนะในคำว่า
ร้อน” “รุม” “รุ่มซึ่งนอกจากจะฟังไพเราะแล้ว ยังสื่อความรู้สึกได้อย่างชัดเจน
การใช้ความเปรียบได้คมคาย ใช้โวหารภาพพจน์หลายอย่าง เช่น อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์
( การกล่าวเกินจริง ) ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพวรรณคดีเรื่องนี้เข้าข่ายวรรณคดีบริสุทธิ์เพราะมุ่งเน้นความงดงามเชิงวรรณศิลป์ยิ่งกว่าอย่างอื่น นับเป็นวรรณคดีที่ถ่ายทอดอารมณ์ของกวีได้อย่างดียิ่ง
      ๒. คุณค่าทางสังคม กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหาร
การกิน ที่นิยมในสมัยรัชการที่ ๒ บางชนิดเป็นอาหารที่เรารู้จักในปัจจุบัน เช่น มัสมั่น หมูแนม
ก้อยกุ้ง แกงคั่ว เป็นต้น แต่อาหารบางชนิดหารับประทานได้ยากในปัจจุบัน เพราะมีกรรมวิธีการปรุงหลายขั้นตอน มีเคล็ดลับในการทำ และทำให้อร่อยได้ยาก เช่น ล่าเตียง และหรุ่ม อาหารบางอย่างเป็นอาหารต่างชาติ ใช้เครื่องปรุงเฉพาะที่ทำให้มีรสชาติต่างไป เช่น ข้าวหุงปรุงเครื่องเทศ
ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น

  ..วรรณคดีเรื่องนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าในยุคสมัยนั้นนิยมรับประทานอาหารประเภทใด อาหาร
และเครื่องปรุงบางอย่างเป็นของต่างชาติ ดังนั้นจึงสะท้อนภาพการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศได้อีกด้วย แสดงให้เห็นว่าอาหารไทยมีความประณีตบรรจงในการปรุงแต่ง และให้ความสำคัญกับความงดงามและรสชาติของอาหารควบคู่กันไป อาหารไทยจึงเป็นทั้งประณีตศิลป์และวิจิตรศิลป์ คนไทยได้ชื่อว่าเป็นเลิศในเรื่องฝีมือไม่ว่าจะหยิบจะจับอะไรก็ทำได้อย่างงดงาม ละเอียดประณีต อาหารไทยก็เช่นกัน ต้องอาศัยฝีมือในการปรุง นอกจากจะทำให้บริโภคอาหารได้มากแล้ว ยังมีลักษณะเป็นอาหารตา คือตกแต่งอย่างวิจิตรอีกด้วย การปรุงอาหารไทยให้มีกลิ่นหอม รสดี และมีความงดงามนั้น เริ่มตั้งแต่การรู้จักเลือกเครื่องปรุง ต้องเป็นของดี และผู้ปรุงต้องเลือกเป็นและเมื่อปรุงเสร็จแล้วยังต้องรู้จักวัดวางตกแต่งให้สวยงามน่ารับประทานทั้งรูปลักษณ์และสีสัน
การอ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้านภาลัยนี้ นอกจากจะได้ความรู้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังทำให้เห็นว่าอาหารเป็นเครื่องหมายแทนความรัก ความผูกพันและความเอื้ออาทรที่คนในครอบครัวมีต่อกัน การปรุงอาหารไทยจึงเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ฝีมือ ความประณีต และความตั้งใจในการประดิษฐ์ออกมาให้งดงามและ
โอชารส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น